มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ต้นแบบแห่งความดี
เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี การสร้างบารมีเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ พระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อนท่านทำอย่างนี้ คือสร้างบารมีไปจนกว่าบารมีจะเต็มเปี่ยม ได้บรรลุจุดหมายปลายทางของชีวิต ดังนั้น เราเกิดมาภพชาติหนึ่ง ก็เพื่อสั่งสมบุญบารมีเท่านั้น บุญที่เราได้ทำไว้ดีแล้ว จะเป็นเสบียงในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ ทำให้เรามีความสุขตลอดเส้นทางของชีวิต
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ผู้ถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต
จนมาถึงในสมัยพุทธกาลนี้ ท่านเกิดในตระกูลเศรษฐี มีชื่อว่า โชติกะ ในวันที่ท่านเกิด สรรพาวุธทั่วทั้งเมืองเกิดแสงสว่างโชติช่วง ทั่วทั้งเมืองสว่างไสวไปหมด เมื่อถึงวัยที่จะครองเรือน พระอินทร์ได้เสด็จมาจากเทวโลก เนรมิตปราสาท ๗ชั้น ที่ทำด้วยรัตนะทั้ง๗ มีกำแพง ๗ชั้น แวดล้อมปราสาทอย่างประณีตสวยงาม
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ลูกน้อยโพธิ์สัตว์
มีครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายคนเดียวชื่อ สวิฏฐกะ ได้บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดี เมื่อมารดาละจากโลกนี้ไป เขาก็ปรนนิบัติดูแลบิดาด้วยดีเสมอมา บิดาสงสารเขา อยากจะหาคนมาช่วยทำงานบ้าน จึงให้เขาแต่งงานกับหญิงคนหนึ่ง
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ศิษย์คิดล้างครู
มุสิละกราบทูลว่า ตนมีความสามารถพอๆ กับอาจารย์ จึงไม่ขอรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าอาจารย์ ขอให้พระองค์พระราชทานเท่ากับอาจารย์เถิด พระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าพูดอย่างนั้น ธรรมดาอาจารย์ต้องได้รับมากกว่าศิษย์ มุสิละก็ ไม่ยอม จากนั้นก็ออกไปประกาศให้มหาชนไปเป็นสักขีพยาน ในการประลองฝีมือการดีดพิณระหว่างตนกับอาจารย์
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ - ทางมาแห่งปัญญาบารมี
จากเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า ขนาด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบรมศาสดาเอกของโลก ก็ยังทรงเคารพพระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ เพราะความเคารพในธรรมเป็นทางมาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อม ในพระไตรปิฎกมีหลายสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องความเคารพไว้ ทรงสั่งสอนทั้งแก่ภิกษุภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา และเหล่าเทวดา ไม่ว่าจะเป็นการเคารพในพระศาสดา เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ เคารพในการศึกษา เคารพในสมาธิ เคารพในความไม่ประมาท และเคารพในการปฏิสันถาร
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - โคนันทวิสาล
จะเห็นได้ว่า การกล่าววาจาทุพภาษิต เช่น คำหยาบ คำด่านั้น ไม่ดีเลย เหมือนที่พราหมณ์พูดกับโคนันทิวิสาล ในการเดิมพันครั้งแรก ทำให้ต้องเสียทรัพย์แก่เศรษฐีและอับอายขายหน้า แต่ครั้นพราหมณ์กล่าวถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหู และเสริมสร้างกำลังใจให้แก่กัน ก็สามารถกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาได้ และยังได้ทรัพย์สินอีกมากมาย เพราะคำพูดที่ไพเราะนั้นมีฤทธิ์ มีอานุภาพ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - เกวียน ๗ ผลัด ทางลัดสู่นิพพาน
ครั้นพระปุณณะเดินทางมาถึง ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ตามลำพัง แล้วขอโอกาสลาไปนั่งปลีกวิเวกในป่าอันธวัน เมื่อพระสารีบุตรเถระทราบข่าวนั้น จึงรีบติดตามไป และได้สนทนาธรรมกับท่านว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร” พระปุณณะตอบว่า “ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน”
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมดับทุกข์
ในสมัยพุทธกาล ท่าน สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นคนยากจน ต้องเที่ยวขอทานขออาหารเขากินทุกวัน ทั้งยังป่วยเป็นโรคเรื้อนอีกด้วย วันหนึ่งมหาชนได้มาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรมจากพระบรมศาสดา สุปปพุทธกุฏฐิเห็นมหาชนมารวมกันจำนวนมาก จึงคิดว่า คงจะมีการแจกอาหารเป็นแน่ จึงไปที่นั่นเพื่อจะได้รับแจกอาหารบ้าง แล้ววันนั้นบุญเก่าที่ท่านเคยทำมาในอดีต ก็มาส่งผลพอดี
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ยิ่งให้สมบัติใหญ่ยิ่งไหลมา
เมื่อให้ทาน สละทรัพย์ออกจากใจ ความตระหนี่ซึ่งเป็นวิบัติก็หลุดร่อนออกไปด้วย เมื่อวิบัติหลุดออกไป สิริสมบัติก็หลั่งไหลเข้ามาแทน บุญที่เกิดจากการให้ทานและเอาชนะความตระหนี่ในใจได้นี้ ไปดึงดูดสมบัติใหญ่มา ทำให้ได้สมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ ได้ทั้งโลกิยทรัพย์และอริยทรัพย์ ดังเรื่องของหญิงชราท่านหนึ่ง ที่ตัดใจให้ทานเอาชนะใจตนเองได้ โดยสละทรัพย์ที่หามาด้วยความยากลำบากออกให้ทาน
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ชีวิตเหลือน้อยนิด อย่าคิดเรื่องไร้สาระ
ดวงบุญนี้เป็นต้นเหตุแห่งความสุขและความสำเร็จ เมื่อเราปรารถนาสิ่งใด ให้อธิษฐานจิตในกลางดวงบุญนั้น ซึ่งเป็นทางมาแห่งมหาสมบัติทั้งหลาย ทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มรรคผลนิพพาน ซ้อนอยู่ในกลางดวงบุญนั้น บางคนสายสมบัติโต บางคนเล็ก บางคนก็ริบหรี่ ตามแต่กำลังบุญที่ได้สั่งสมมา ดวงบุญนี้จะดึงดูดสมบัติหยาบในเมืองมนุษย์ ให้เราได้ใช้สร้างบารมีอย่างไม่รู้จักหมดสิ้น เมื่อปรารถนาในสิ่งที่ดี ย่อมจะสมปรารถนาได้ ดังนั้น เราจึงต้องสั่งสมบุญกันให้มากๆ อย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว